Sunday, June 24, 2012

อีกก้าวหนึ่งของเนชั่น...Social TV

เครือเนชั่นเปิดกลยุทธใหม่ Social TV ผนึกพลังเครือข่ายสังคม  social media ให้ "ดูไปทวีตไปขึ้นเฟสบุ๊กไป" จุดกระแสเพิ่มยอดคนดูทีวีในเครืออย่างคึกคักทุกสื่อทุกเวลาทุกสถานที่
ทีมบริหารของเครือยังก้าวหน้าต่อไปในการสร้างกลยุทธทางเนื้อหาและการตลาดยุคดิจิตัลอย่างไม่หยุดยั้ง ล่าสุดจะเปิดตัว Social TV เพื่อให้คนดูรายการทีวีของเครือทุกช่องมีการปฏิสัมพันธ์กันแบบ "เรียลไทม์" ผ่านทวิตเตอร์, เฟสบุ๊ค, ยูทูปและสื่อ social media อย่างร้อนแรงแบบที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในแวดวงสื่อของประเทศไทย
ครือเนชั่นได้สร้างกองทัพคนข่าวและนักการตลาดในทวิตเตอร์และเฟสบุ๊กที่รวมกันแล้วมีฐาน followers และ friends หลายล้านคน อีกทั้งคนดูช่องทีวีของเราไม่ว่าจะเป็น Nation Channel, Rawangpai, Mango TV และที่กำลังจะเกิดใหม่คือ Krungthep Turakij TV กับ KidZone ที่รวมกันแล้วมี audience ทั่วประเทศหลายสิบล้าน...คนดูทีวีไปทวีตและอัปเดตเฟสบุ๊กกับเข้าไปเสวนากันผ่านยูทูปไป...เป็นบทสนทนาที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กับการดูทีวีอย่างมีความคึกคักตลอดเวลา ทั้งก่อนรายการ, ระหว่างรายการและหลังรายการทุกรายการ
"กลยุทธ Social TV" ของเครือเนชั่นเป็น "นวัตกรรมทางการสื่อสารและการตลาด" ที่สร้างบทสนทนาของผู้คนที่ดูรายการผ่านจอทีวี,เว็บ, จอมือถือและแทบเบล็ทอย่างหลากหลายที่เราเรียกว่าเป็น backchannel ที่จะกระตุ้นการดูทีวีที่มีชีวิตชีวาผ่าน social media อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประเทศไทย
คนดูข่าวดูโฆษณาจากทีวีของเครือเนชั่นผ่านมากมายหลายจอจะสามารถเกาะติดถึงความคิดเห็น, ปฏิกิริยา, กระแสความรู้สึก, ข้อมูลจากสาธารณชนอย่างกว้างขวาง, ฉับพลันและหลากหลาย สร้างให้เกิดประสบการณ์ทางด้านการเสพข่าวสารบ้านเมือง, บันเทิง, กีฬา, บทวิพากษ์วิจารณ์อย่างที่ไม่เคยได้พบเห็นมาก่อนแน่นอน
ผลจากการทวีตและส่งข้อความขึ้นเฟสบุ๊คก่อน, ระหว่างและหลังรายการต่าง ๆ ในจอทีวีจะทำให้เกิดกระแสความสนใจทั้งในเนื้อหาที่โดดเด่นและการสื่อสารทางด้านการขายและการตลาดที่ผ่านสื่อของเครือเนชั่นอย่างร้อนแรงขึ้นอย่างแน่นอน
ผู้บริโภคข่าวสาร, ผู้โฆษณา, ผู้ต้องการประชาสัมพันธ์และผู้ต้องการสำรวจความเห็นประชาชนล้วนสามารถใช้กลยุทธ Social TV ของเครือเนชั่นได้อย่างคล่องแล่วและมีประสิทธิภาพที่วัดผลกันได้นาทีต่อนาที
นี่คืออีกก้าวย่างสำคัญทางด้านการสร้างสิ่งใหม่ ๆ ในเครือเนชั่นที่กำลังก้าวกระโดดสู่ความทันสมัยอย่างไม่หยุดยั้งภายใต้คำขวัญ ImagiNATION หรือ "จินตะเนชั่น" ที่เน้นความสำคัญของนวัตกรรม, จินตนาการและการก้าวล้ำนำยุคในสนามการแข่งขันดิจิตัลที่ร้อนแรงขณะนี้

Friday, June 15, 2012

ในโลกโซเชียล มีเดีย...ทุกเศษเสี้ยวของนาทีคือเส้นตาย



นักข่าวรุ่นเก๋าอย่างแดน ราเธอร์แห่ง CBS แม้จะมีความเห็นเชิงวิพากษ์ต่อ social media ในการทำข่าวทุกวันนี้ แต่เขาก็ยอมรับว่าใครไม่ใช้เครือข่ายสังคมอย่างทวิตเตอร์หรือเฟสบุ๊คก็จะล้าสมัยไม่ทันการ เพราะเขาเองก็ยังต้องมีหน้าเฟสบุ๊คสำหรับรายการทีวีของเขาเพื่อสนองความต้องการของคนดูและคนอ่านในยุคปัจจุบัน
ราเธอร์บอกว่าโลกโซเชียลมีเดียทำให้คนทำข่าวมีสมาธิสั้น ไม่มีเวลาวิเคราะห์และคิดอะไรลึกซึ้งได้เท่าที่ควร
"ทุกวินาทีคือเส้นตายที่ต้องส่งข่าว" เขาบ่น แต่ก็ยอมรับว่าในชีวิตการทำข่าวของเขานั้นอินเตอร์เน็ทคือเครื่องมือสำคัญที่ไม่อาจปฏิเสธได้เลย
แดน ราเธอร์เพิ่งออกหนังสือเล่มล่าสุดเล่มนี้ว่าด้วย "ชีวิตในข่าวของฉัน" ซึ่งเล่าขานถึงเบื้องหลังการทำข่าวหลาย ๆ ด้านที่น่าสนใจยิ่ง
ข้างล่างนี้คือส่วนหนึ่งของบทถาม-ตอบที่เว็บไซท์ Lost Remote สัมภาษณ์นักข่าวรุ่นลายครามคนนี้โดยเฉพาะประเด็นข้อดีข้อเสียของการทำข่าวกับโซเชียล มีเดีย
Lost Remote: How do you think social media, Facebook, Twitter, however you want to define social media, has affected news today?
Dan Rather: I engage in social media, a Facebook page, a Twitter page and I’m not an expert on it. Now you have a deadline every nanosecond. And you don’t have time you used to have to reflect and to think things through.   Never mind make telephone calls. It has shrunk as a result of social media.  You can see this most clearly in what happens at even the best newspapers. Not so long ago a writer for The New York Times and the Wall Street Journal would have until three, three thirty in the afternoon, to make telephone calls, perhaps to think things through, to try to connect the dots. Today they are under great pressure to fly along what’s called multi-platforms. The home office wants something to Facebook, wants something to blog, wants him to be on Twitter, and beat the competition. It’s very common today for a reporter to get a phone call or a text from the home office saying, “our competition has X and you need to beat it in the next thirty seconds, preferably less.”
I think the other thing that has made a difference with the social media is that, I want to state this directly, but I want to do it carefully, that in so many minds, what’s on social media is what’s called news. Sometimes it’s news and other times it isn’t news because there’s a lot of blurring that if somebody sitting in their living room has a thought, fancy themselves a thought with Twitter or even a couple lines, a paragraph on Facebook it maybe just what’s in their head at that moment, but if it happens to strike a certain cord, it can go viral or something close to viral and so often is considered a fact or close to fact when it isn’t.
There is no misunderstanding that we are in the internet era. We went from the print era, to the radio era, to the television era. We are now in the internet era. I think overall in the whole development of the internet, including social media, has been for the good. Not just in terms of news, but in terms of information, which is sometimes different education.
LR: Do you personally use social media at all for research, for promoting your news program on HDNet?
Rather: We do use it, and I do use it. The collective we being here at Dan Rather Reports, our weekly news program and I use it. I don’t think you can be effective these days and not use it. I do think that you can get over focused. And I’m still trying personally to strike that balance of keeping up with what’s going on with social media and at the same time doing my legwork and telephone work as a reporter.  But we do Facebook, we have a Facebook page for Dan Rather Reports. I contribute to that page regularly, daily, sometimes more than once a day, and we use Twitter as well. Yes we use it for promotional purposes, but I have found that if you use your Facebook page only for promotion or even mostly for promotion, people get over to it pretty quickly, and they either stop coming or they ignore it. So you have to give value for time spent.
And we also use for research, to try to stay abreast of what’s trending on Facebook, what’s trending with tweets. We use it for research, also for promotion and also as an outlet for material, and my example would be that, forgive the personal reference, but I came upon a story about a week ago about the specifics of Hugo Chavez, how serious the cancer is. A very advanced very aggressive form of cancer and spoke to someone who is in a position to know, who raised the possibility that Chavez could not last until the scheduled election in October. We’re a weekly news program. This happened, I can’t remember, I think on Thursday or Friday between programs. So, we wanted to get that information out. I thought it was an important story, not the greatest story in the world, but an important story. And we also have our competitive pressure so what do we do? We very quickly put something on Facebook and Twitter, while we’re getting something put together for AOL which was kind enough to print it, a short three paragraph story about it, and so it isn’t just research, it isn’t just promotion. We use social media as a way of getting out news

Monday, June 11, 2012

คนข่าวยุคใหม่ห้ามพลาด Instagram กับ Pinterest

นักข่าวดิจิตัลต้องกระโจนเข้าไปมีกิจกรรมในโลก "เครือข่ายสังคม" ที่ขยายตัวเพิ่มเติมจากทวิตเตอร์และเฟสบุ๊คอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง

วงการ social media กำลังจับตาไปที่ Pinterest และ Instagram ถึงขั้นที่วันก่อนมีประเด็นว่าสองเจ้านี้ใครสำคัญกว่ากันในแง่การสร้างแบรนด์สำหรับผู้ที่ต้องการเรียกร้องความสนใจจากคนทั่วไป

Sproutinsights.com ตั้งคำถามที่น่าสนใจยิ่ง เพราะทั้งสองเครือข่ายนี้มีความเหมือนความต่างที่คนข่าวสามารถนำมาใช้ได้อย่างดียิ่งในการสร้างความพัวพันกับคนอ่าน, คนดูและคนฟัง

ทั้งสองเครือข่ายเปิดทางให้ภาพและวีดีโอสามารถเชื่อมต่อผู้คนในสังคมอย่างคึกคัก และกำลังฮือฮาในแวดวงนักการตลาดและนักขาย

แต่ผมเห็นว่านักข่าวยุคใหม่ก็ควรจะสามารถใช้เพื่อการเชื่อมต่อกับผู้คนอย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง

ชัดเจนว่า Instagram ให้ความสำคัญกับรูปและการสื่อสารกับด้วยภาพอย่างมีสีสันและรวดเร็วทันใจยิ่ง เพราะเขาเรียกตัวเองว่าเป็น

"...a fast, beautiful and fun way to share your photos with friends and family..."
ผมใช้เป็นประจำเพื่อถ่ายรูป ตกแต่ง และส่งขึ้นทวิตเตอร์และเฟสบุ๊คอย่างคล่องแคล่ว ไม่ว่าจะเป็นข่าวด่วนข่าวร้อนหรือภาพน่าประทับใจที่ต้องการจะแพร่ไปถึงผู้คนในสังคมอย่างรวดเร็วและสวยงาม

ส่วน Pinterest บรรยายสรรพคุณตัวเองว่าเป็น

"a virtual pinboard that allows you to organize and share all the beautiful things you find on the web..."

เป็นเสมือนบอร์ดป่าวประกาศที่ใคร ๆ ก็สามารถจะนำภาพ, วีดีโอและความเห็นทุกอย่างมาแชร์กันอย่างสวยงามและเป็นระบบ เหมาะสำหรับนักข่าวที่จะนำเสนอทั้งเรื่องราวและภาพกับวีดีโอที่จะสร้างความเป็นประชาคมได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

Instagram สร้างควาาเกรียวกราวมาแล้วเพราะเฟสบุ๊คซื้อไปที่ราคา 1,000 ล้านเหรียญ
ขณะที่กำลังลุ้นว่า Pinterest ก็อาจจะสร้างราคาในตลาดได้อย่างน่าตื่นตาตื่นใจ

สำหรับผมแล้ว, ทั้งสองเครือข่ายนี้คือเครื่องมือโดดเด่นและมีอนาคตยิ่งสำหรับคนข่าวยุคใหม่...นักข่าวคนไหนยังไม่ได้ลองก็อย่าได้รอช้าเป็นอันขาด





Saturday, June 2, 2012

คนข่าวต้องสร้าง 'นวัตกรรม' กระบวนการทำข่าว

ถ้า content คือ king ...distribution ก็ต้องเป็น queen แห่งวงการสื่อในยุคดิจิตัล เพราะเนื้อหาและการกระจายไปถึงผู้บริโภคจะต้องเดินเคียงคู่กันอย่างสนิทสนมแน่นแฟ้นอย่างชนิดที่พรากจากกันไม่ได้เป็นอันขาด

ซึ่งหมายความว่าวิธีทำงานของคนข่าวจะต้องเข้าสู่ยุคนวัตกรรมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นกัน

การใช้เครื่องมือ (tools) และพัฒนาทักษะ (skills) ใหม่ ๆ ที่มากับยุคดิจิตัลกลายเป็น "ความจำเป็น" สำหรับคนข่าว มิใช่เรื่องที่เลือกจะ "เล่น" หรือ "ไม่เล่น" ก็ได้อีกต่อไป

บางคนบอกด้วยซ้ำว่าคนข่าวหนึ่งคนในยุคหน้า (ที่กำลังจะมาถึงในเร็ววันนี้) จะต้องสามารถทำงานได้เท่ากับนักข่าวในยุคเก่า 5 คนเพราะความคล่องตัวของคนข่าวยุคดิจิตัลมีสูงกว่าในอดีต

และที่ฟังแล้วน่ากลัวกว่าคือสื่อในสมัยใหม่จะไม่มีเงินมากพอที่จะมีทีมงานจำนวนมากมายเหมือนแต่ก่อนเก่าอีกต่อไป

คำว่า "นวัตกรรมกระบวนการทำข่าว" หรือ innovate the news-gathering process จึงกลายเป็นเรื่องที่จะมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด ไม่ว่าเราจะชอบหรือไม่ชอบ เราจะพร้อมหรือไม่พร้อมก็ตาม

เว็บสังคมก็ไม่ต่างอะไรกับ "จัตุรัสสาธารณะ"ที่ใคร ๆ ก็สามารถผลิตเนื้อหาไปสู่ผู้บริโภคได้ด้วยคลิกเดียวเท่านั้น

องค์กรข่าวจะต้องปรับตัวด้วยการปฏิรูปห้องข่าวให้เป็น integrated, convergent newsrooms ที่ฝึกให้คนข่าวสามารถผลิตตัวหนังสือ, วีดีโอ, เสียง, กราฟฟิคอินเตอร์แอคทิฟ, applications, games และอื่น ๆ แล้วแต่ว่าเทคโนโลยีจะสามารถผลักดันให้เกิดขึ้นอีกในวันข้างหน้า

หลายองค์กรข่าวที่ทันสมัยใช้วัดผลด้วย metrics เพื่อประเมินผลการทำงานว่ามีผู้คนสนใจและตอบสนองมากน้อยเพียงใด เพื่อจะสามารถปรับเนื้อหาและการนำเสนอให้สอดคล้องกับความต้องการอย่างฉับพลันทันที

บางแห่งเสนอพาดหัวสองอย่างให้ผู้บริโภคเลือกก่อนที่บรรณาธิการตัดสิน

ที่สำคัญกว่านั้นคือคนทำข่าวได้ปรับการกระจายเนื้อหาไปยังที่ ๆ คนอ่านคนดูและคนฟังหนาแน่นที่สุด

ซึ่งหนีไม่พ้นว่าจะเป็นในเครือข่ายสังคมและโทรศัพท์มือถือ หรืออะไรที่เคลื่อนที่ได้ตลอดเวลาในลักษณะ anywhere, anytime, anyhow

นั่นก็คือ social กับ mobile

การทำหน้าที่เป็นสื่อมวลชนในยุคนี้จึงหมายถึงการเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์กับสาธารณชนอย่างต่อเนื่อง มิใช่การแจ้งข่าวให้ทราบด้านเดียวอย่างที่เป็นไปหลายสิบปีอีกต่อไป

สื่อจึงต้องมองตัวเองมากกว่าเพียงแค่ผู้ผลิตเนื้อหาเท่านั้น แต่ยังเป็น platforms สำหรับเนื้อหาอีกด้วย

ก้าวต่อไปคือการทำตัวเป็น "เครือข่ายสังคมแห่งข่าวสาร" หรือ social network for news ที่จะทำหน้าที่เป็นคนเลือก, รวบรวม, ส่งต่อ, และแชร์กับคนอื่น ๆ ในแวดวงต่าง ๆ ด้วยที่เรียกว่า curator

นักข่าวจึงไม่ใช่แค่คนทำข่าวหรือ reporters แต่เป็น curator ด้วยเพราะบทบาท gatekeeper จะปรับเป็นผู้ประสานและกระจายข่าวสารและข้อมูลให้คนในสังคมให้กว้างขวาง, ทันควันและส่งเสริมให้แสดงความเห็นต่อเนื่องด้วย

มองย้อนกลับไปที่การเรียนการสอนวิชาสื่อสารมวลชน ก็จำเป็นต้องให้คนข่าวรุ่นต่อไปได้เรียนทั้งวิชา journalism และ computer science บางด้านที่เกี่ยวกับทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อทำหน้าที่เป็น digital journalist ที่พร้อมจะสื่อสารผ่าน multiple platforms อย่างพร้อมทุกด้าน

วัฒนธรรมและลำดับชั้นของคนข่าวในห้องข่าวดิจิตัลจึงต้องปรับเปลี่ยนไปอย่างกว้างขวางและหนักหน่วง